วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

Lesson 5


Recent Posts
Science Experiences Management for Early Childhood

19 September 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.


ความรู้ที่ได้รับ




เริ่มเรียนในวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษามองและสังเกตสิ่งประดิษฐ์ที่อาจารย์ได้นำเอามาให้ แล้วให้นักศึกษาลองส่องดูว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรและอาจารย์ก็มีกิจกรรมให้นักศึกษาก่อนการนำเข้าสู่บทเรียนในต่อไป

อุปกรณ์
1.กระดาษ A4 สีชมพู
2.กรรไกร
3.สีเมจิก
4.ไม้เสียบลูกชิ้น
5.กาว

ขั้นตอนการทำ
1. นำกระดาษ A4 มาแบ่งกันให้ได้ 4 ส่วน
2.แล้ววาดภาพที่สัมพันธ์กัน
3.เสร็จแล้วนำไม้เสียบลูกชิ้นมาติดกับกาว ไว้ตรงกึ่งกลาง
4. ลองหมุนสลับไปมา




สรุปการทำกิจกรรม
 จากการที่ดิฉันได้ทำกิจกรรม ทำให้รู้ว่าเพียงแค่เล็กที่เราไม่คิดว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ก็สามารถที่จะทำให้เราได้รู้ว่าสิ่งประดิษฐ์ที่ทำขึ้นมา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในขณะที่เราหมุนมัน เช่น ภาพปลากับภาพสระน้ำ เมื่อลองหมุนดูแล้วมันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงและเราสามารถเห็นเป็นปลาอยู่ในสระน้ำ ซึ่งวิธีการทำนั้นง่ายเพียงนิดเดียวก็ทำให้เกิดงานประดิษฐ์ที่แปลกใหม่ได้


สรุปบทความเรื่องที่ 1 สอนลูกเรียนปรากฏการณ์ธรรมชาติ ของ นางสาวประภัสสร หนูศิริ  อ้างอิง




การปลูกฝังหรือเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ให้กับเด็กในช่วงปฐมวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่จะทำให้เด็กได้ตระหนักถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในทางลบที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์เป็นเบื้องต้น การที่เด็กได้เรียนรู้สาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมทำให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่รู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และสามารถดำรงชีวิตแบบพึ่งพาซึ่งกันและกันได้ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลในอนาคต ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเป็นสาระที่เด็กควรเรียนรู้เกี่ยว กับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน เป็นต้น สาระที่ควรเพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็นความคิดรวบยอดทางกายภาพ เด็กจะได้ใช้ทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม และการหาคำตอบ ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในลำดับขั้นสูงต่อไป ดังที่ Robert Craig ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ ที่เรียกว่า “5 Craig’s Basic Concepts” ว่าทุกสิ่งในโลกนี้จะมีลักษณะสำคัญร่วม 5 ประการ คือ
ความเปลี่ยนแปลง (Change) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงควรให้เด็กเรียนถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ
ความหลากหลาย (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเรียนรู้ความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งต่างๆ
การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงควรสอนให้เด็กได้สังเกตลักษณะของสิ่งนี้ เช่น จิ้งจกจะเปลี่ยนสีตามผนังที่เกาะ เป็นต้น
การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutuality) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น นกเอี้ยงกับควาย ดังนั้น ครูจึงต้องให้เด็กเห็นธรรมชาติของสิ่งนี้
ความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิต และปรับตัวเพื่อให้ได้สมดุล และมีการผสานกลมกลืนกันเช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก สัตว์แข็งแรงย่อมกินสัตว์ที่อ่อนแอ สัตว์ที่อ่อนแอต้องมีอาวุธพิเศษบางอย่างไว้ป้องกันตัว เป็นต้น เด็กควรมีความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งนี้ เพื่อให้ตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติสามารถรักษาสมดุลไว้ได้




สรุปบทความเรื่องที่ 2 สอนลูกเรื่องสัตว์ ของ นางสาวอรุณี พระนารินทร์  อ้างอิง



การจัดประสบการณ์การเรียนรู้หน่วยสัตว์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้รู้จักสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น สัตว์เลี้ยงไว้ดูเล่น สัตว์เลี้ยงไว้ใช้งาน สัตว์บก สัตว์น้ำ ลักษณะของสัตว์ ประโยชน์ของสัตว์ การเลี้ยงดูและให้อาหารสัตว์ การอนุรักษ์สัตว์ ที่อยู่อาศัย และการดำรงชีวิตของสัตว์ นอกเหนือจากเด็กจะได้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสัตว์แล้ว การเรียนรู้หน่วยสัตว์ มีจุด มุ่งหมายสำคัญเพื่อบูรณาการการเรียนรู้ให้เด็กได้พัฒนาทางด้านอารมณ์ จิตใจในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีคุณ ธรรม จริยธรรม การมีความเมตตา กรุณาต่อสัตว์ ทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์อื่นๆ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการด้านอื่นๆได้ทั้งพัฒนาการทางด้านร่างกาย จากการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง พัฒนาการทางด้านสังคมจากการเล่นและทำงานเป็นกลุ่มในกิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมการเล่นตามมุม กิจกรรมการเล่นเกมต่างๆ การพัฒนาทางด้านสติปัญญาจากกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะทาง ด้านคณิตศาสตร์ จากการสังเกตลักษณะของสัตว์ การนับจำนวนสัตว์ การจำแนกเปรียบเทียบประเภทสัตว์ จึงเห็นได้ว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ทำให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาไปพร้อมๆกัน


สรุปบทความเรื่องที่ 3 สนุกเป่ากับวิทยาศาสตร์




ศิลปะ และ วิทยาศาสตร์ ล้วนมีรากฐานมาจากที่เดียวกัน ดังที่ อัลเบิรต์ ไอน์สไตน์ นิยามไว้ว่า ศาสนา ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ คือกิ่งก้านสาขามาจากลำต้นเดียวกันนอกจากนี้ ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ ยังเป็นแหล่งความรู้ที่มีอิธิพลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ 
สำหรับเด็กๆของเรา จะเป็นการดีถ้าเราได้สอนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆตั้งแต่วัยเยาว์ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรามาชวนเด็กๆ ฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์กันเถอะ
ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ (2552) ได้แนะนำทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไว้ดังนี้
1 การสังเกต ตัวอย่างเช่น นำภาพรถยนต์ กับ รถบรรทุก มาวางด้วยกัน แล้วให้เด็กสังเกตดูว่ามีอะไรที่ต่างกัน และ เหมือนกัน เด็กๆอาจตอบคำถามได้หลากหลาย และบางคำตอบคุณก็อาจคิดไม่ถึงด้วยเหมือนกัน นี่เป็นเพียงแค่หนึ่งตัวอย่าง คุณอาจจะลองใช้เทคนิคอื่นก็ได้
2 การฝึกประสาทสัมผัส นอกจากการสังเกตแล้ว เรายังมี การฟัง รับรู้รส สัมผัส ดมกลิ่น ซึ่งสามารถนำมาฝึกกับเด็กๆได้ เช่น ลองนำผลไม้มาหลากหลายชนิดมา แล้วให้เด็กๆปิดตา สัมผัส ดมกลิ่น แล้วก็ชิมดู หลังจากนั้น ก็ให้เด็กๆ ทายว่าเป็นผลไม้ชนิดไหน
3 การค้นพบ สิ่งที่น่าสนใจในธรรมชาติ สิ่งนี้อาจอยู่รอบๆตัวเราก็ได้ เช่น น้องครามนั่งจองดูมดแดงเดินขบวนหนีน้ำเป็นแถว แล้วก็ถามผู้ใหญ่ว่ามดมีกี่ขา แล้วมดเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย หลังจากผู้ปกครองให้คำตอบแล้ว อาจหาหนังสือเกี่ยวกับมดมาให้เด็กได้ศึกษาเพิ่มเติม
4 การเรียนรู้ด้านสุขอนามัยและการฝึกฝนเพื่อความปลอดภัย เช่น สอนการล้างมือก่อนกินอาหาร, หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ตกพื้น, การข้ามถนนบนทางม้าลาย
5 การคาดการณ์ที่ควรเรียนรู้ ยกตัวอย่างเช่น สภาพอากาศ ถ้ามองท้องฟ้าแล้ว มีแดดจัดมากๆ เด็กๆจะออกไปข้างนอกควรจะนำหมวกหรือร่มไปด้วย
6 การฝึกสำดับเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น การทำไข่เจียว อันดับแรกต้องตอกไข่ใส่ชาม หลังจากนั้นจึงตีไข่ให้ขึ้นฟู ถัดมาเตรียมตั้งกระทะใส่น้ำมัน รอจนน้ำมันร้อน แล้วจึงเทไข่ที่ตีไว้ใส่กระทะ รอให้ไข่สุก จึงตักขึ้นใส่ชาม
7 การฝึกการวัดและพัฒนาความสนใจทางคณิตศาสตร์ เช่นการวัดส่วนสูงของเด็กๆ กับ คุณพ่อ คุณแม่ ว่าใครสูงเท่ากี่ ซม. ใครสูงกว่าใคร หรือจะเป็นการชั่งน้ำหนัก การตวงสิ่งของ ในการทำกับข้าว
8 การสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ เช่นการนำกล่องนม หลอด หรือ ขวดพลาสติก มาสร้างเป็น หุ่นยนต์, ตุ๊กตา หรือ บ้าน

 

ประยุกต์ใช้อย่างไร

-สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้เป็นอย่างดี
-สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้และประยุกต์ในการสอนวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
-สามารถนำเทคนิคการประดิษฐ์ที่ได้มนวันนี้ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้
-สามารถนำความรู้ที่ได้จากบทความที่เพื่อนนำเสนอไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้ ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับการสอนเด็กวิชาวิทยาศาสตร์มากขึ้น


การประเมินผล

ประเมินตนเอง: วันนี้ดิฉันเตรียมความพร้อมที่จะนำเสนอบทความได้ดี และสามารถนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียนได้ค่อนข้างดีพอสมควร อาจจะตื่นเต้นไปบ้างเล็กน้อย และตั้งใจฟังอาจารย์บอกข้อเสนอแนะในการนำเสนอบทความเพื่อที่จะได้ไปปรับใช้ แต่างกายเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา

ประเมินเพื่อน: เพื่อนตั้งใจฟังเพื่อนที่ออกมานำเสนอบทความได้เป็นอย่างดี และร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน คือ การตอบคำถามเกี่ยวกับบทความที่ฟังและแสดงความคิดเห็นเมื่ออาจารย์ถามคำถาม รวมทั้งตั้งใจจดบันทึกในสิ่งที่อาจารย์เพิ่มเติม

ประเมินอาจารย์: อาจารย์สรุปบทความที่ดิฉันและเพื่อนออกมานำเสนอได้เป็นอย่างดี ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับบทความ และอาจารย์ยังมีกิจกรรมที่ประดิษฐ์ชิ้นงานมาให้นักศึกษาทำ ทำให้การเรียนในวันนี้มีความสุขและสนุกสนานคะ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น