Recent Posts
Science Experiences Management for Early Childhood
12 September 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.
Science Experiences Management for Early Childhood
12 September 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.
ความรู้ที่ได้รับ
ทักษะการสังเกต
ทักษะการจำแนกประเภท
ทักษะการวัด
ทักษะการสื่อความหมาย
ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเวลา
แนวคิดการสอนวิทยาศาสตร์ & เทคนิคพ่อแม่
ปส
, สเปสกับเวลา
แนวคิดการสอนวิทยาศาสตร์ & เทคนิคพ่อแม่
ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ
ทักษะการคำนวณ
สรุปบทความเรื่องที่ 1 การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้
ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ การสังเกต
การจำ
และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้
ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล เกิดการเข้าใจมโนทัศน์ เชื่อสานข้อมูลประยุกต์ และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้ ตัวอย่าง
เช่น เด็กเรียนเรื่องเต่ากับหนู โดยการศึกษาเปรียบเทียบ ค้นหาข้อแตกต่างและข้อเหมือน และนำไปสู่ข้อสรุปว่า เต่ามีลักษณะอย่างไร หนูมีลักษณะอย่างไร (Hendrick, 1998
: 42) ดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้ เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้ เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์
การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ดร.ดินา
สตาเคิล (Dina Stachel) ของมหาวิทยาลัยเทอาวีพ ประเทศอิสราเอล ได้พัฒนาโปรแกรมมาทาลขึ้น
เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์ สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น 4 หน่วย
ดังนี้
(สตาเคิล, 2542
: 12)
หน่วยที่
1
การสังเกตโลกรอบตัว
หน่วยที่
2
การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
หน่วยที่
3 รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
หน่วยที่
4
การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง 4 หน่วยดังกล่าว
เด็กต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ได้แก่ ทักษะการสังเกต การจำแนกประเภท
การสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเปรียบเทียบมิติเดียวเหมือนอย่างเช่นคณิตศาสตร์
แต่การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปคำตอบ ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวได้
หากครูจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก
สรุปบทความเรื่องที่ 2 วิทยาศาสตร์และการทดลอง
ไข่เอย....จงนิ่ม
สิ่งที่ต้องใช้
· แก้ว 1 ใบ
· ไข่ไก่ 1 ฟอง
· น้ำส้มสายชู
วิธีทดลอง
· นำไข่ไก่ใส่ลงไปในแก้ว
· เทน้ำส้มสายชูลงไปให้ท่วมไข่
· ทิ้งไว้ 1 คืน อดใจรอนะพอตอนเช้าเทน้ำออกก็แล้วลองจับไข่ดูซิ..
เพราะอะไรกันนะ
น้ำส้มสายชูเป็นสารเคมีประเภทกรดอินทรีย์
ได้แก่ กรดน้ำส้มหรือกรดอะซิติก ซึ่งสามารถละลายแคลเซียมได้
เปลือกไข่มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้เปลือกไข่แข็ง เมื่อถูกละลายหายไป เปลือกไข่จึงนิ่ม
กระดูกเรา ก็มีแคลเซียมเช่นกัน
คราวหน้าเพื่อนๆกิน KFC.แล้วเอากระดูกไก่
มาทดลองดูนะว่าเป็นอย่างไร
สรุปบทความเรื่องที่ 3 เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
เทคนิคการเลือกและเล่านิทาน
นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป
เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินก็จบไป
แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดีให้เด็กๆได้เรียนรู้ที่หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน
คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำๆเด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้
นอกจากนี้ก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์
มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่างๆสอดแทรกผ่านวิธีการคิดที่เป็นเหตุผล
เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว
ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง
ซึ่งครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ในด้านใด
แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์จากตรงนั้น
เทคนิคการเลือกนอทานให้เด็ก
ควรเลือกให้เหมาะสมกับวัย เช่าน เด็กเล็ก เริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น
สัตว์ ธรรมชาติ ภาพน่ารักๆ เลือกสีสันและเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไป
เทคนิคการเล่านิทาน ในการเล่านิทาน
จะต้องสร้างอารมณ์ร่วมในขณะที่เล่า มีการใช้โทนเสียงเวลาเล่า
ปล่อยให้เด็กได้ใช้ความคิดไปกับผู้เล่าในขณะที่ฟังนิทาน
การใช้เสียงต่างๆจะทำให้เด็กได้สังเกตอารมณ์ของการใช้เสียง..
ประยุกต์ใช้อย่างไร
-สามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาในการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้
โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่อยู่สิ่งรอบๆตัวเด็ก เช่น สัตว์
ธรรมชาติ เป็นต้น
-สามารถนำไปเป็นแนวทางในการเรียนรู้ต่อไปได้
และเป็นแนวทางในการจัดหน่วยการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
-ทำให้รู้ในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี
การประเมินผล
ประเมินตนเอง :
ตั้งใจฟังและจับประเด็นที่เพื่อนนำเสนอบทความได้เป็นอย่างดี
และตั้งใจจดบันทึกในสิ่งที่อาจารย์เพิ่มเติมและสรุปบทความที่เพื่อนนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน
แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา มีส่วนรวมในกิจกรรมชั้นเรียน คือ
การตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น
ประเมินเพื่อน :
เพื่อนเตรียมบทความที่จะมานำเสนอได้เป็นอย่างดี มีความพร้อมที่จะนำเสนอได้ดี
แต่งกายเรียบร้อย วางรองเท้าเป็นระเบียบ
ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอบทความและสิ่งที่อาจารย์สอนได้เป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์สอนโดยมีวิธีการสอนที่หลากหลาย
มีการขยายเนื้อหาเพิ่มเติมและสรุปบทความที่เพื่อนนำเสนอหน้าชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี
ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้น และอาจารย์ได้ตรวจBloggerของนักศึกษาที่ได้ลิงค์กับอาจารย์ไปบ้างแล้วบางคน
และได้เสนอแนะสิ่งที่ยังขาดตกบกพร่อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น