วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

Lesson 3

Recent Posts
Science Experiences Management for Early Childhood

5 September 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.




ความรู้ที่ได้รับ



นอกจากนี้กิจกรรมท้ายชั่วโมงอาจารย์ให้นักศึกษาเลขที่ 1 -5 ออกมานำเสนอบทความ วิจัยที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ตนเองค้นคว้ามาออกมานำเสนอให้เพื่อนในชั้นเรียนฟัง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ที่ตนเองไปค้นคว้ามาว่าเนื้อหาของบทความเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง
1.การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
2.กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล
3.สอนลูกเรื่องพืช
4.แนวทางการสอน เติมวิทย์ให้กับเด็กอนุบาล


สรุปบทความเรื่องที่ 1 การจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

         การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย จะต้องจัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น โดยที่การเล่นดังกล่าวต้องไม่ใช่การเล่นโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย และไม่ใช่การยัดเยียดเนื้อหาของระดับประถมศึกษาให้แก่เด็ก การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย ครูจะต้องเข้าใจการเรียนรู้ที่เด็ก และสร้างเสริมประสบการณ์และธรรมชาติการเรียนรู้ให้แก่เด็ก ดังหลักการสำคัญในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ดังนี้
1. จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่างต่อเนื่อง

2. เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่
3. จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกับกระบวนการและผลผลิต
4. จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์
5. ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก


สรุปบทความเรื่องที่ 2 กิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล

ADVENTURES IN AIR เรียนรู้เกี่ยวกับอากาศ
ที่อยู่รอบๆตัวเรา อากาศสามารถทำให้สิ่งของเคลื่อนที่ อากาศต้องการที่อยู่และอากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น
ANIMAL FRIENDS  สนุกกับการทายเสียง
สัตว์ชนิดต่างๆ รูปลักษณะของสัตว์ที่เปลี่ยนไป เมื่อมันเจริญเติบโต เรียนรู้สิ่งที่ห่อหุ้มร่างกาย
ของสัตว์แต่ละชนิด
COLOR LAB เรียนรู้เกี่ยวกับสีต่างๆของรุ้ง การผสมของแม่สี เด็กๆจะสนุกกับการผสมสี
ด้วยตนเองโดยใช้ Gel ชนิดพิเศษเพื่อนำกลับบ้าน
EYE TO EYE เรียนรู้ความสำคัญของดวงตา และสนุกกับส่วนประกอบต่างๆของตาจาก
แบบจำลอง ดวงตาเรียนรู้ว่าเราสามารถเห็นภาพที่มี ขนาดใหญ่ขึ้นได้โดยการ
มองผ่าน แว่นขยาย
KEEP IN TOUCH  เรียนรู้เกี่ยวกับประสาทสัมผัส ให้เด็กๆทราบว่าของบางอย่างเป็น
อันตรายได้ถ้าเราสัมผัส และบางส่วนของร่างกายมีประสาทที่ไวต่อการสัมผัสมากกว่าส่วนอื่น
LISTEN CLOSELY  ให้เด็กๆทราบว่าเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือน และเดินทางผ่านอากาศ
ในรูปของคลื่น สนุกกับการทำเสียงด้วยอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในภาพยนตร์
LIGHTS ON เรียนรู้ว่าแสงช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ แสงสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อส่องผ่าน
กระดาษสีต่างๆ ตื่นตากับการดูสีรุ้งของแสงด้วยแว่นตาสายรุ้ง
SPACE FRONTIERS สนุกกับการสร้างแบบจำลองของดาวเคราะห์ทั้งเก้าดวงในระบบ
สุริยะจักรวาล เล่นสนุกกับการเก็บหินจำลองบนดวงจันทร์ด้วยมือจับ
WATER WORKS เรียนรู้เรื่องการลอย การจมของวัตถุต่างๆ ศึกษาว่าวัตถุใดดูดซึมน้ำ
ได้ดีกว่ากัน สนุกกับการทดลองแรงตึงผิวของน้ำด้วยน้ำสบู่ น้ำตาลและพริกไทย


สรุปบทความเรื่องที่ 3 สอนลูกเรื่องพืช

การเรียนรู้เรื่องพืชสามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ดังนี้
·         ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย การจัดกิจกรรมให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายเป็นต้นไม้ที่ถูกลมพัดโอนเอน ทำให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายทางด้านการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ เช่น แขน ขา ลำตัว และการทรงตัว เป็นต้น กิจกรรมสร้างสรรค์ที่เด็กนำเมล็ดพืชมาปะติดลงในกระดาษ ทำให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อเล็กในด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือกับตา หรือการทำรถลากจากไม้ แล้วให้เล่นแข่งรถกัน การวิ่งผลัดส่งดอกไม้ ทำให้เด็กได้วิ่งออกกำลังกาย
·         ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ จิตใจ ทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายทางด้านอารมณ์และความรู้สึกด้วยการร้อยดอกไม้ การให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายตามจินตนาการกับดอกไม้ ทำให้เด็กสนุกสนาน และส่งเสริมการจินตนาการด้านการเคลื่อน ไหว
·         ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสังคม การเรียนรู้เรื่องผักด้วยการได้ประกอบอาหารร่วมกันกับเพื่อน ทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม บทบาทหน้าที่ของตนเอง ความรับผิดชอบต่อกลุ่ม การอดทนรอคอย และความมีวินัย ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมทางสังคมที่ดี และยังส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่างๆ เช่น ความมีวินัย ความเอื้อเฟื้อ ความมีน้ำใจ เป็นต้น
·         ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดกิจกรรมให้เด็กทดลองปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ เด็กจะได้พัฒนาทักษะพื้น ฐานทางด้านคณิตศาสตร์ จากการวัดส่วนสูงของพืชที่ปลูกเป็นรายสัปดาห์ การนับจำนวนดอกไม้ การคาดคะเน และเรื่องของเวลาที่ใช้การปลูก ส่วนทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์เด็กจะได้เรียนรู้จากการสังเกตการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของพืช การจำแนกสีของดอกไม้ นอกจากนี้กิจกรรมการเพาะปลูกพืชที่ให้เด็กปลูกร่วมกันเป็นกลุ่ม ยังส่งเสริมทักษะในการแก้ปัญหาเป็นกลุ่มให้กับเด็กได้ ส่วนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ การให้เด็กนำดอกไม้มาปะติดลงในกระดาษตามจินตนาการ จะช่วยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวางแผน คิดจินตนาการและสามารถสร้างชิ้นงานให้มีความแปลกใหม่ซึ่งเป็นการพัฒนาด้านการคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก นอกจากนี้ การเล่นเกมอนุกรมภาพต้นไม้ ดอกไม้ ทำให้เด็กพัฒนาในด้านการคิดอย่างมีเหตุผลได้


สรุปบทความเรื่องที่ 4 แนวทางการสอน เติมวิทย์ให้กับเด็กอนุบาล

ดร. วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เราคงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"


ดร. เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของเด็ก ๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริง ๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"


ประยุกต์ใช้อย่างไร

- สามารถประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้ และทำให้เราเข้าใจเด็กปฐมวัยมากขึ้น โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- สามารถนำเนื้อหาที่ได้รับในวันนี้ไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมได้โดยผ่านกระบวนการเล่นของเด็กๆได้
- สามารถไปปรับใช้กับการจัดกิจกรรมหรือจัดการเรียนให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็กปฐมวัยได้



การประเมินผล

ประเมินตนเอง :  แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอบทความที่เพื่อนหามาเกี่ยวกับบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและตั้งใจจดสาระที่สำคัญของบทความ รวมทั้งตั้งใจฟังอาจารย์สรุปเนื้อหาของบทความที่เพื่อนนำเสนอ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนแต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลาเป็นส่วนใหญ่ เพื่อนเตรียมนำเสนอบทความได้ดีและจั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอหน้าชั้นเรียน

ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย เข้าสอนก่อนเวลาเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสอนและสรุปบทความที่เพื่อนนำเสนอได้ดี ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้น รวมถึงให้ข้อเสนอแนะที่นักศึกษายังขาดตกบกพร่องในเรื่องของการนำเสนอบทความ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น