วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

Lesson 6

Recent Posts
Science Experiences Management for Early Childhood

26 September 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.


ความรู้ที่ได้รับ

ในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำสิ่งประดิษฐ์ " กังหันมหัศจรรย์ " ดังนี้
อุปกรณ์

1.กระดาษ

2.กรรไกร
3.คลิปหนีบกระดาษ


วิธีการทำ

-พับกระดาษที่อาจารย์เตรียมไว้ให้ พับครึ่งให้เท่ากัน

-จากนั้นคลี่กระดาษออก แล้วนำกรรไกรตัดกระดาษตามแนวยาวถึงที่พับครึ่ง
-แล้วพับกระดาษแถบที่ไม่ได้ตัดเข้าไปนิดนึง
-นำคลิปหนีบกระดาษมาติด


เมื่อทำเสร็จแล้วอาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอผลงานที่ตัวเองทำว่าเป็นอย่างไร โดยให้โยนขึ้นไปบนอากาศแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกังหัน โดยที่แถวที่1-3 ตัดกระดาษให้ถึงกึ่งกลางที่พับไว้ แต่แถวที่4-5 ตัดกระดาษไม่ต้องถึงกึ่งกลาง แล้วออกมาโยนหน้าชั้นเรียนแล้วให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของแต่ละแถว
เมื่อดิฉันได้สังเกต พบว่า แถวที่ตัดกระดาษถึงครึ่งนั้น เมื่อโยนขึ้นไปในอากาศสิ่งที่เห็นคือเมื่อเวลากังหันตกลงมาจะเป็นเกลียวหมุนๆลงมาถึงพื้น แต่เมื่อดิฉันสังเกตแถวที่ตัดกระดาษไม่ถึงครึ่งนั้น พบว่า เมื่อโยนกังหันขึ้นไปในอากาศ จะเห็นว่าเมื่อเวลากังหันตกลงมาจะไม่ค่อยหมุนเป็นรูปเกลียว
เพราะว่าแถวที่ตัดกระดาษถึงครึ่งนั้นเมื่อเวลาโยนไปในอากาศแล้วหล่นลงมาจะเกิดอากาศดันใต้กระดาษ ทำให้เวลาหล่นลงมาอากาศจะดันทำให้หมุนเป็นเกลียวๆ



 นอกจากนี้อาจารย์ให้เพื่อนที่เตรียมบทความออกมานำเสนอบทความดังนี้

เรื่องที่1 วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ของ นางสาวมธุรินทร์ อ่อนพิมพ์   อ้างอิง



การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้  ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ  การสังเกต  การจำ  และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้  ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล  เกิดการเข้าใจมโนทัศน์  เชื่อสานข้อมูลประยุกต์  และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง  ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้  ตัวอย่าง  เช่น  เด็กเรียนเรื่องเต่ากับหนู  โดยการศึกษาเปรียบเทียบ  ค้นหาข้อแตกต่างและข้อเหมือน  และนำไปสู่ข้อสรุปว่า  เต่ามีลักษณะอย่างไร  หนูมีลักษณะอย่างไร  (Hendrick,  1998  :  42)  ดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้  เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้  เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์



เรื่องที่2 วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของ นางสาวจุฑาทิพย์ เขตนิมิตร   อ้างอิง




เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก



เรื่องที่ 3 การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ของ นางสาวบุษราคัม สะรุโณ  อ้างอิง



วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน 
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย



เรื่องที่4 สอนลูกเรื่องอากาศ ของ นางสาวพรวลัญช์ คงสัตย์    อ้างอิง



เด็กปฐมวัยเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย เด็กมักจะมีคำถามอยู่เสมอ ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เรารู้ได้อย่างไร เมื่อเด็กมีความสนใจธรรมชาติรอบตัว คำถามที่ต้องการให้ผู้ใหญ่ตอบมีหลายเรื่อง รวมทั้งสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น คืออากาศ เด็กมีคำถามเสมอว่า อากาศ คืออะไร มาจากไหน ทำไมหนูจับไม่ได้ วันนี้หนูอยากอาบน้ำเพราะร้อนมาก ๆ ทำไมเป็นอย่างนั้น หนูชอบวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ เพราะเย็นกว่าในห้อง ทำไมเป็นเช่นนั้น ทำไมบางครั้งลมพัดเร็วมากจนโค่นต้นไม้หักลงมาได้ ทำไมลมพัดเร็วช้าไม่เหมือนกัน ลมพัดได้เร็วเพียงใด คำถามที่น่าสนใจของเด็ก จึงควรนำมาจัดเป็นกิจ กรรมเรียนรู้สำหรับเด็ก เรื่องอากาศ เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็ก และเมื่อเด็กได้รับการตอบสนองให้สืบค้นหาคำตอบ เด็กจะรู้สึกสบายใจที่ได้รับการตอบสนอง จึงเป็นการพัฒนาการทางอารมณ์ที่เหมาะสมให้แก่เด็กอีกด้วย



เรื่องที่5 ฝึกทักษะสังเกตนำลูกสู่วิทยาศาสตร์ ของ นางสาวเนตรนภา ไชยแดง  อ้างอิง



ทักษะการสังเกตเป็นหนึ่งในทักษะขั้นพื้นฐานและจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์  การสังเกต (Observation) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ เพื่อต้องการรู้รายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ ที่จะนำมาซึ่งการเรียนรู้ที่มากขึ้นและเด็กจะเก็บเป็นข้อมูลหรือประสบการณ์ต่อไป  จึงพูดได้อีกอย่างว่าสำหรับสำหรับเด็กๆ แล้วการสังเกตจะเกิดจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้านั่นเอง  และจากประสบการณ์ที่ได้รับจะทำให้การสังเกตของเด็กพัฒนาขึ้น การสังเกตสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ที่มีคุณค่าในที่สุด



นอกจากนี้อาจารย์ยังอธิบายถึง หน่วยการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มคะ

กะหล่ำปลี

แปรงสีฟัน



ดอกมะลิ


ผีเสื้อ

ไก่

ส้ม

ประยุกต์ใช้อย่างไร


-สามารถความรู้ที่ได้จากสิ่งประดิษฐ์ไปสอนเด็กปฐมวัยได้ เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะการสังเกต 

-สามารถนำกิจกรรมที่ทำในวันนี้คือ สิ่งประดิษฐ์ กังหันมหัศจรรย์ ไปสอนเด็กให้ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ได้ด้วยตัวของเด็กเอง เพื่อให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ในการลงมือกระทำด้วยตนเอง เด็กจะเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลานและเกิดความคิดรวบยอดรวมทั้งพัฒนาลำดับขั้นความคิดของเด็กได้อีกด้วย
-สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนในอนาคตได้เป้นอย่า่งดี
-สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ที่ได้เรียนในวันนี้ไปจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ มุมวิทยาศาสตร์ ให้กีบเด็กปฐมวัยได้


ประเมินผล

ประเมินตนเอง ตั้งใจทำสิ่งประดิษฐ์และสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลง มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย 

ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจฟังเพื่อนที่ออกมานำเสนอบทความและตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายถึงหัวข้อในหน่วยการเรียนรู้

ประเมินอาจารย์ อาจารย์สรุปบทความของเพื่อนได้ดี ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้น และสรุปถึงการคิดหัวข้อในหน่วยการเรียนต่างๆได้ดี



วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

ความลับของแสง

ความลับของแสง





จากที่ได้ดู vdo เรื่อง ความลับของแสง สรุป คือ แสง คือ คลื่นชนิดหนึ่งที่มีพลังงานการแผ่รังสีของแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอืนฟราเรดถึงรังสีอัลตราไวโอเลตด้วย


ยกตัวอย่าง 
 นำกล่อง 1 ใบ มาเจาะรู 1 รู แล้วเปิดฝานำวัตถุใส่ลงไปในกล่อง แล้วปิดฝาให้สนิท สิ่งที่เห็นคือ ภายในกล่องจะมืดสนิทมองไม่เห็นวัตถุ แล้วลองเปิดฝากล่องแล้วลองมองใหม่ สิ่งที่เห็นคือ วัตถุที่อยู่ในกล่อง เพราะมีแสงส่องเข้ามาโดนวัตถุที่เรามองเห็นวัตถุรอบตัวได้เพราะมีแสงส่องลงมาสิ่งต่างๆรอบตัวและแสงยังต้องสะท้อนกับวัตถุแล้วส่งมาที่ตาของเรา ซึ่งเท่ากับว่าตาของเราก็คือจอรับแสงนั่นเอง


คุณสมบัติของแสง  
- แสงเดินออกมาพุ่งเป็นเส้นตรงเพียงอย่างเดียว
- วัตถุของแสงมี 3 ชนิด
1. วัตถุโปร่งแสง
2. วัตถุโปร่งใส
3. วัตถุทึบแสง เช่น ไม้ หิน ตัวมนุษย์
- ที่ดวงตาของเราจะมีรูเล็กๆ เราเรียกว่า รูรับแสง ภาพที่เรามองเห็นจริงๆแล้วจะกลับหัว แต่เป็นเพราะสมองจะกลับภาพให็เราเห็นเป็นปกติโดยอัตโนมัติ
- การสะท้อนของแสง เช่น การยืนส่องกระจก เป็นเพราะเงาของเราเกิดจากการสะท้อนเงาของแสง


หลักการหักเหของแสง
ยกตัวอย่าง ลองฉายแสงผ่านตู้กระจกที่มีน้ำอยู่ เริ่มแรกต้องฉายแสงผ่านน้ำไปตรงๆ ผลที่ได้คือ แสงก็ยังพุ่งตรง ลองฉายแสงไปในแนวเฉียง แสงก็จะเกิดการหักงอ แสดงว่าแสงหักงอได้จริงๆเพราะแสงกับวัตถุเดินทางคนละชนิดกันและเกิดจากความหนาแน่นของวัตถุนั้นด้วย


ประโยชน์ของการหักเหของแสง
ช่วยให้เรามองเห้นได้ชัดเจนขึ้น และทำให้เรามองเห็นวิว แสง สีสวยต่างๆได้อีกด้วย เช่น รุ้งกินน้ำ ตอนฝนตกที่เห้นรุ้งกินน้ำได้ เพราะเกิดจากการหักเหของแสง แสงที่เห็นจะผสมกับละอองน้ำแล้วเกิดการหักเหของแสง

เงา เป็นสิ่งที่คู่กันกับแสงเสมอ เงาเป็นสิ่งตรงกันกับแสง เงาเกิดขึ้นได้เพราะแสงเช่นเดียวกัน
การทดลองการเกิดเงา
ทดลองโดยการส่องไฟตรงไปยังวัตถุที่เตรียมไว้ ทันทีที่เราส่องไฟตรงไปยังวัตถุก็จะเกิดเงาดำๆขึ้นมาบนพื้นฝั่งตรงกันข้ามที่เราส่องไฟนั่นเอง






วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

Lesson 5


Recent Posts
Science Experiences Management for Early Childhood

19 September 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.


ความรู้ที่ได้รับ




เริ่มเรียนในวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษามองและสังเกตสิ่งประดิษฐ์ที่อาจารย์ได้นำเอามาให้ แล้วให้นักศึกษาลองส่องดูว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรและอาจารย์ก็มีกิจกรรมให้นักศึกษาก่อนการนำเข้าสู่บทเรียนในต่อไป

อุปกรณ์
1.กระดาษ A4 สีชมพู
2.กรรไกร
3.สีเมจิก
4.ไม้เสียบลูกชิ้น
5.กาว

ขั้นตอนการทำ
1. นำกระดาษ A4 มาแบ่งกันให้ได้ 4 ส่วน
2.แล้ววาดภาพที่สัมพันธ์กัน
3.เสร็จแล้วนำไม้เสียบลูกชิ้นมาติดกับกาว ไว้ตรงกึ่งกลาง
4. ลองหมุนสลับไปมา




สรุปการทำกิจกรรม
 จากการที่ดิฉันได้ทำกิจกรรม ทำให้รู้ว่าเพียงแค่เล็กที่เราไม่คิดว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ก็สามารถที่จะทำให้เราได้รู้ว่าสิ่งประดิษฐ์ที่ทำขึ้นมา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในขณะที่เราหมุนมัน เช่น ภาพปลากับภาพสระน้ำ เมื่อลองหมุนดูแล้วมันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงและเราสามารถเห็นเป็นปลาอยู่ในสระน้ำ ซึ่งวิธีการทำนั้นง่ายเพียงนิดเดียวก็ทำให้เกิดงานประดิษฐ์ที่แปลกใหม่ได้


สรุปบทความเรื่องที่ 1 สอนลูกเรียนปรากฏการณ์ธรรมชาติ ของ นางสาวประภัสสร หนูศิริ  อ้างอิง




การปลูกฝังหรือเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ให้กับเด็กในช่วงปฐมวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่จะทำให้เด็กได้ตระหนักถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในทางลบที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์เป็นเบื้องต้น การที่เด็กได้เรียนรู้สาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมทำให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่รู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และสามารถดำรงชีวิตแบบพึ่งพาซึ่งกันและกันได้ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลในอนาคต ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเป็นสาระที่เด็กควรเรียนรู้เกี่ยว กับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน เป็นต้น สาระที่ควรเพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็นความคิดรวบยอดทางกายภาพ เด็กจะได้ใช้ทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม และการหาคำตอบ ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในลำดับขั้นสูงต่อไป ดังที่ Robert Craig ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ ที่เรียกว่า “5 Craig’s Basic Concepts” ว่าทุกสิ่งในโลกนี้จะมีลักษณะสำคัญร่วม 5 ประการ คือ
ความเปลี่ยนแปลง (Change) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงควรให้เด็กเรียนถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ
ความหลากหลาย (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเรียนรู้ความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งต่างๆ
การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงควรสอนให้เด็กได้สังเกตลักษณะของสิ่งนี้ เช่น จิ้งจกจะเปลี่ยนสีตามผนังที่เกาะ เป็นต้น
การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutuality) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น นกเอี้ยงกับควาย ดังนั้น ครูจึงต้องให้เด็กเห็นธรรมชาติของสิ่งนี้
ความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิต และปรับตัวเพื่อให้ได้สมดุล และมีการผสานกลมกลืนกันเช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก สัตว์แข็งแรงย่อมกินสัตว์ที่อ่อนแอ สัตว์ที่อ่อนแอต้องมีอาวุธพิเศษบางอย่างไว้ป้องกันตัว เป็นต้น เด็กควรมีความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งนี้ เพื่อให้ตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติสามารถรักษาสมดุลไว้ได้




สรุปบทความเรื่องที่ 2 สอนลูกเรื่องสัตว์ ของ นางสาวอรุณี พระนารินทร์  อ้างอิง



การจัดประสบการณ์การเรียนรู้หน่วยสัตว์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้รู้จักสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น สัตว์เลี้ยงไว้ดูเล่น สัตว์เลี้ยงไว้ใช้งาน สัตว์บก สัตว์น้ำ ลักษณะของสัตว์ ประโยชน์ของสัตว์ การเลี้ยงดูและให้อาหารสัตว์ การอนุรักษ์สัตว์ ที่อยู่อาศัย และการดำรงชีวิตของสัตว์ นอกเหนือจากเด็กจะได้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสัตว์แล้ว การเรียนรู้หน่วยสัตว์ มีจุด มุ่งหมายสำคัญเพื่อบูรณาการการเรียนรู้ให้เด็กได้พัฒนาทางด้านอารมณ์ จิตใจในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีคุณ ธรรม จริยธรรม การมีความเมตตา กรุณาต่อสัตว์ ทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและสัตว์อื่นๆ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมเด็กให้มีพัฒนาการด้านอื่นๆได้ทั้งพัฒนาการทางด้านร่างกาย จากการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมเสรี กิจกรรมกลางแจ้ง พัฒนาการทางด้านสังคมจากการเล่นและทำงานเป็นกลุ่มในกิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมการเล่นตามมุม กิจกรรมการเล่นเกมต่างๆ การพัฒนาทางด้านสติปัญญาจากกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะทาง ด้านคณิตศาสตร์ จากการสังเกตลักษณะของสัตว์ การนับจำนวนสัตว์ การจำแนกเปรียบเทียบประเภทสัตว์ จึงเห็นได้ว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ทำให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาไปพร้อมๆกัน


สรุปบทความเรื่องที่ 3 สนุกเป่ากับวิทยาศาสตร์




ศิลปะ และ วิทยาศาสตร์ ล้วนมีรากฐานมาจากที่เดียวกัน ดังที่ อัลเบิรต์ ไอน์สไตน์ นิยามไว้ว่า ศาสนา ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ คือกิ่งก้านสาขามาจากลำต้นเดียวกันนอกจากนี้ ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ ยังเป็นแหล่งความรู้ที่มีอิธิพลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ 
สำหรับเด็กๆของเรา จะเป็นการดีถ้าเราได้สอนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆตั้งแต่วัยเยาว์ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรามาชวนเด็กๆ ฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์กันเถอะ
ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ (2552) ได้แนะนำทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไว้ดังนี้
1 การสังเกต ตัวอย่างเช่น นำภาพรถยนต์ กับ รถบรรทุก มาวางด้วยกัน แล้วให้เด็กสังเกตดูว่ามีอะไรที่ต่างกัน และ เหมือนกัน เด็กๆอาจตอบคำถามได้หลากหลาย และบางคำตอบคุณก็อาจคิดไม่ถึงด้วยเหมือนกัน นี่เป็นเพียงแค่หนึ่งตัวอย่าง คุณอาจจะลองใช้เทคนิคอื่นก็ได้
2 การฝึกประสาทสัมผัส นอกจากการสังเกตแล้ว เรายังมี การฟัง รับรู้รส สัมผัส ดมกลิ่น ซึ่งสามารถนำมาฝึกกับเด็กๆได้ เช่น ลองนำผลไม้มาหลากหลายชนิดมา แล้วให้เด็กๆปิดตา สัมผัส ดมกลิ่น แล้วก็ชิมดู หลังจากนั้น ก็ให้เด็กๆ ทายว่าเป็นผลไม้ชนิดไหน
3 การค้นพบ สิ่งที่น่าสนใจในธรรมชาติ สิ่งนี้อาจอยู่รอบๆตัวเราก็ได้ เช่น น้องครามนั่งจองดูมดแดงเดินขบวนหนีน้ำเป็นแถว แล้วก็ถามผู้ใหญ่ว่ามดมีกี่ขา แล้วมดเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย หลังจากผู้ปกครองให้คำตอบแล้ว อาจหาหนังสือเกี่ยวกับมดมาให้เด็กได้ศึกษาเพิ่มเติม
4 การเรียนรู้ด้านสุขอนามัยและการฝึกฝนเพื่อความปลอดภัย เช่น สอนการล้างมือก่อนกินอาหาร, หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ตกพื้น, การข้ามถนนบนทางม้าลาย
5 การคาดการณ์ที่ควรเรียนรู้ ยกตัวอย่างเช่น สภาพอากาศ ถ้ามองท้องฟ้าแล้ว มีแดดจัดมากๆ เด็กๆจะออกไปข้างนอกควรจะนำหมวกหรือร่มไปด้วย
6 การฝึกสำดับเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น การทำไข่เจียว อันดับแรกต้องตอกไข่ใส่ชาม หลังจากนั้นจึงตีไข่ให้ขึ้นฟู ถัดมาเตรียมตั้งกระทะใส่น้ำมัน รอจนน้ำมันร้อน แล้วจึงเทไข่ที่ตีไว้ใส่กระทะ รอให้ไข่สุก จึงตักขึ้นใส่ชาม
7 การฝึกการวัดและพัฒนาความสนใจทางคณิตศาสตร์ เช่นการวัดส่วนสูงของเด็กๆ กับ คุณพ่อ คุณแม่ ว่าใครสูงเท่ากี่ ซม. ใครสูงกว่าใคร หรือจะเป็นการชั่งน้ำหนัก การตวงสิ่งของ ในการทำกับข้าว
8 การสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ เช่นการนำกล่องนม หลอด หรือ ขวดพลาสติก มาสร้างเป็น หุ่นยนต์, ตุ๊กตา หรือ บ้าน

 

ประยุกต์ใช้อย่างไร

-สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้เป็นอย่างดี
-สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้และประยุกต์ในการสอนวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
-สามารถนำเทคนิคการประดิษฐ์ที่ได้มนวันนี้ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้
-สามารถนำความรู้ที่ได้จากบทความที่เพื่อนนำเสนอไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้ ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับการสอนเด็กวิชาวิทยาศาสตร์มากขึ้น


การประเมินผล

ประเมินตนเอง: วันนี้ดิฉันเตรียมความพร้อมที่จะนำเสนอบทความได้ดี และสามารถนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียนได้ค่อนข้างดีพอสมควร อาจจะตื่นเต้นไปบ้างเล็กน้อย และตั้งใจฟังอาจารย์บอกข้อเสนอแนะในการนำเสนอบทความเพื่อที่จะได้ไปปรับใช้ แต่างกายเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา

ประเมินเพื่อน: เพื่อนตั้งใจฟังเพื่อนที่ออกมานำเสนอบทความได้เป็นอย่างดี และร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน คือ การตอบคำถามเกี่ยวกับบทความที่ฟังและแสดงความคิดเห็นเมื่ออาจารย์ถามคำถาม รวมทั้งตั้งใจจดบันทึกในสิ่งที่อาจารย์เพิ่มเติม

ประเมินอาจารย์: อาจารย์สรุปบทความที่ดิฉันและเพื่อนออกมานำเสนอได้เป็นอย่างดี ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับบทความ และอาจารย์ยังมีกิจกรรมที่ประดิษฐ์ชิ้นงานมาให้นักศึกษาทำ ทำให้การเรียนในวันนี้มีความสุขและสนุกสนานคะ





Lesson 4

Recent Posts
Science Experiences Management for Early Childhood

12 September 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.


ความรู้ที่ได้รับ





 ทักษะการสังเกต
ทักษะการจำแนกประเภท
 ทักษะการวัด
 ทักษะการสื่อความหมาย
 ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเวลา
แนวคิดการสอนวิทยาศาสตร์ เทคนิคพ่อแม่
ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
            เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
      ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ
ปส , สเปสกับเวลา
 ทักษะการคำนวณ


สรุปบทความเรื่องที่ 1 การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นการสอนข้อความรู้  ซึ่งต่างจากการสอนให้รู้ข้อความรู้ตรงที่การสอนข้อความรู้ต้องการความสนใจ  การสังเกต  การจำ  และการเรียกความจำจากความเข้าใจถ่ายโยงได้  ไม่ใช่การท่องจำซึ่งตรงกับการเรียนวิทยาศาสตร์ที่เป็นการเรียนรู้จากการให้คิดและมีเหตุผล  เกิดการเข้าใจมโนทัศน์  เชื่อสานข้อมูลประยุกต์  และสรุปเป็นข้อความรู้ได้ด้วยตนเอง  ซึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์เด็กต้องพัฒนาทักษะการคิดเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปให้ได้  ตัวอย่าง  เช่น  เด็กเรียนเรื่องเต่ากับหนู  โดยการศึกษาเปรียบเทียบ  ค้นหาข้อแตกต่างและข้อเหมือน  และนำไปสู่ข้อสรุปว่า  เต่ามีลักษณะอย่างไร  หนูมีลักษณะอย่างไร  (Hendrick,  1998  :  42)  ดังนั้นการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงมิใช่การสอนให้รู้ข้อความรู้  เพราะเด็กไม่สามารถรับความรู้นามธรรมได้  เด็กปฐมวัยต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากประสบการณ์
การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ดร.ดินา  สตาเคิล  (Dina  Stachel)  ของมหาวิทยาลัยเทอาวีพ  ประเทศอิสราเอล  ได้พัฒนาโปรแกรมมาทาลขึ้น  เพื่อใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน  รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์  สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น  4  หน่วย  ดังนี้
 (สตาเคิล,  2542  :  12)
 หน่วยที่  1     การสังเกตโลกรอบตัว
 หน่วยที่  2     การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
 หน่วยที่  3     รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
 หน่วยที่  4     การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
          ในการเรียนหน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง  4  หน่วยดังกล่าว  เด็กต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  ทักษะการสังเกต  การจำแนกประเภท  การสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเปรียบเทียบมิติเดียวเหมือนอย่างเช่นคณิตศาสตร์  แต่การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปคำตอบ  ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวได้  หากครูจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก


สรุปบทความเรื่องที่ 2 วิทยาศาสตร์และการทดลอง

ไข่เอย....จงนิ่ม





 สิ่งที่ต้องใช้
·         แก้ว 1 ใบ
·         ไข่ไก่ 1 ฟอง
·         น้ำส้มสายชู
วิธีทดลอง
·         นำไข่ไก่ใส่ลงไปในแก้ว
·         เทน้ำส้มสายชูลงไปให้ท่วมไข่
·         ทิ้งไว้ 1 คืน  อดใจรอนะพอตอนเช้าเทน้ำออกก็แล้วลองจับไข่ดูซิ..
เพราะอะไรกันนะ

น้ำส้มสายชูเป็นสารเคมีประเภทกรดอินทรีย์ ได้แก่ กรดน้ำส้มหรือกรดอะซิติก ซึ่งสามารถละลายแคลเซียมได้ เปลือกไข่มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้เปลือกไข่แข็ง  เมื่อถูกละลายหายไป เปลือกไข่จึงนิ่ม
กระดูกเรา ก็มีแคลเซียมเช่นกัน คราวหน้าเพื่อนๆกิน KFC.แล้วเอากระดูกไก่ มาทดลองดูนะว่าเป็นอย่างไร



สรุปบทความเรื่องที่ 3 เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย เทคนิคการเลือกและเล่านิทาน


 นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินก็จบไป แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดีให้เด็กๆได้เรียนรู้ที่หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำๆเด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้
นอกจากนี้ก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่างๆสอดแทรกผ่านวิธีการคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ในด้านใด แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์จากตรงนั้น
เทคนิคการเลือกนอทานให้เด็ก ควรเลือกให้เหมาะสมกับวัย เช่าน เด็กเล็ก เริ่มจากสิ่งที่ใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น สัตว์ ธรรมชาติ ภาพน่ารักๆ เลือกสีสันและเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไป
เทคนิคการเล่านิทาน ในการเล่านิทาน จะต้องสร้างอารมณ์ร่วมในขณะที่เล่า มีการใช้โทนเสียงเวลาเล่า ปล่อยให้เด็กได้ใช้ความคิดไปกับผู้เล่าในขณะที่ฟังนิทาน การใช้เสียงต่างๆจะทำให้เด็กได้สังเกตอารมณ์ของการใช้เสียง..


ประยุกต์ใช้อย่างไร

 -สามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาในการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่อยู่สิ่งรอบๆตัวเด็ก เช่น สัตว์ ธรรมชาติ เป็นต้น
-สามารถนำไปเป็นแนวทางในการเรียนรู้ต่อไปได้ และเป็นแนวทางในการจัดหน่วยการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
-ทำให้รู้ในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี


การประเมินผล

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังและจับประเด็นที่เพื่อนนำเสนอบทความได้เป็นอย่างดี และตั้งใจจดบันทึกในสิ่งที่อาจารย์เพิ่มเติมและสรุปบทความที่เพื่อนนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน แต่งกายเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา มีส่วนรวมในกิจกรรมชั้นเรียน คือ การตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น

ประเมินเพื่อน : เพื่อนเตรียมบทความที่จะมานำเสนอได้เป็นอย่างดี มีความพร้อมที่จะนำเสนอได้ดี แต่งกายเรียบร้อย วางรองเท้าเป็นระเบียบ ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอบทความและสิ่งที่อาจารย์สอนได้เป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์ :  วันนี้อาจารย์สอนโดยมีวิธีการสอนที่หลากหลาย มีการขยายเนื้อหาเพิ่มเติมและสรุปบทความที่เพื่อนนำเสนอหน้าชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้น และอาจารย์ได้ตรวจBloggerของนักศึกษาที่ได้ลิงค์กับอาจารย์ไปบ้างแล้วบางคน และได้เสนอแนะสิ่งที่ยังขาดตกบกพร่อง