Recent Posts
Science Experiences Management for Early Childhood
14 November 2014
Time:13.00-16.40 pm.
Knowlegs
Group 7 หน่วยเรื่อง แปรงสีฟัน
ขั้นนำ : พูดคำคล้องจองเกี่ยวกับแปรงสีฟัน
แปรงสีฟันมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีดีต่างกัน
แปรงสีฟันไฟฟ้านั้น รวดเร็วพลันใช้ได้อย่างดี
แปรงสีฟันผู้ใหญ่ก็มี สะอาดดีเพราะเราแปรงฟัน
ขั้นสอน : ถามเด็กๆถึงคำคล้องจองว่ามีแปรงสีฟันอะไรบ้าง และเอาภาพชนิดต่างๆมาให้เด็กดู
Group 8 หน่วยเรื่อง ลักษณะของผีเสื้อ
Group 8 หน่วยเรื่อง ลักษณะของผีเสื้อ
ขั้นนำ : ร้องเพลงสวัสดี
สวัสดีเธอจ๋าสวัสดี ชื่นชีวียิ้มแย้มแจ่มใส มาพบกันวันนี้แสนดีใจ รื่นเริงไปร้องรำให้สำราญ
Group 9 หน่วยเรื่อง ชนิดของกล้วย Babana
ขั้นนำ : ครูและเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจอง
กล้วยคือผลไม้ ใครๆก็ชอบกินกล้วย
ค้างคาว ช้างลิงฉันด้วย กินกล้วยมีวิตามิน
ขั้นสอน : ครูถามเด็กว่า รู้จักกล้วยอะไรบ้าง แล้วบันทึก พร้อมทั้งนำภาพกล้วยมาให้เด็กดู
1.การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา
เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบจิตปัญญาให้กับครูและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย เป็นแนวทางในการใช้นวัตกรรม การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผลที่วิจัยที่ได้จะเป็นแนวทางสำหรับครูในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและพัฒนาทักษะด้านอื่นๆแก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัยต่อไป
เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบจิตปัญญาให้กับครูและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย เป็นแนวทางในการใช้นวัตกรรม การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผลที่วิจัยที่ได้จะเป็นแนวทางสำหรับครูในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและพัฒนาทักษะด้านอื่นๆแก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด็กปฐมวัยต่อไป
2.ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
เป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาความสามรถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน และเป็นแนวทางในการใช้วิธีการสอนและการจัดกิจกรรมให้ดูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยนำไปพัฒนาทักษะด้านอื่นๆให้แก่เด็ก ต้องเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและศักยภาพของเด๋็กปฐมวัยต่อไป
3.ผลของการจัดประสบการณ์นอกห้องเรียนที่มีผลต่อวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เป็นเรื่องของการจัดประสบการส่งเสริมทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยเพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
ในการสอน เมื่อสอนไปแล้วเด็กได้บูรณาการทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์หรือไม่ และต้องถามประสบการณ์ให้กับเด็ก เพราะความรู้ไม่ได้เกิดจากครูเพียงผู้เดียว แต่เกิดจากตัวเด็กด้วย และครูต้องทำเป็นตัวอย่างให้กับเด็กและต้องเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อให้เด็กได้ดูเลียนแบบตัวอย่างที่ดี
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์
สามารถนำไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้เป็นอย่างดี ทำให้รู้ถึงวิธีการสอนที่หลากหลายและแปลกใหม่แต่น่าสนใจ ซึ่งดิฉันคิดว่าวิธีการเหล่านี้สามารถทำให้เด็กปฐมวัยไม่เบื่อและสนุกสนานกับการทำกิจกรรม รวมถึงรู้เทคนิคต่างๆที่จะใช้กับเด็กปฐมวัย เช่น เทคนิคการเก็บเด็ก การตั้งคำถามๆเด็ก เป็นต้น ทำให้มีความรู้มากขึ้น
ประเมินผล
ประเมินตนเอง : วันนี้มีความพร้อมที่จะเรียนและตั้งใจจดบันทึกสิ่งที่อาจารย์สอนรวมถึงข้อเสนอแนะต่างๆและข้อคิดดีๆที่จะนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยในอนาคตได้ ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอแผนการจัดประสบการณ์หน่วยต่างๆและจดบันทึกโดยย่อเพื่อนำมาทำบล็อกเกอร์ มีความสนุกสนานในการทำอาหาร คือ ทาโกะยากิข้าว มีความสุขมากในการเรียน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคนตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์สอน มอบความรู้และเทคนิคต่างๆดีๆที่เราจะต้องนำไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย เพื่อนตั้งใจนำเสนอแผนการจัดประสบการณ์และงานวิจัยได้เป็นอย่างดี จากการสังเกตพบว่าในการทำอาหารเพื่อนๆมีความสุขทุกคน หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มอบความรู้ให้กับนักเรียนได้เป็นอย่างดีและเต็มที่กับการสอนทุกครั้ง อารมณ์ดีรวมไปถึงบอกวิธีและเทคนิคต่างๆในการเก็บเด็กและการสอนเด็ก มีความสุขมากที่ได้เรียนกับอาจารย์ สนุกสนานทุกครั้งที่ทำอาหาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น