วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Lesson 15



Recent Posts
Science Experiences Management for Early Childhood
28 November 2014
Time:13.00-16.40 pm.


Knowlegs
ในชั่วโมงนี้มีการเรียนการสอน อาจารย์ให้นักศึกษาทำแผนผับ สายสัมพันธ์บ้าน - โรงเรียน เพื่อเป็นสื่อการในการอธิบายสร้างความเข้าใจในกระบวนการเรียนการสอนของเด็กๆ โดยอาจารย์แบ่งเป็นกลุ่มตามหน่วยการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ

แผนพับสายสัมพันธ์บ้าน - โรงเรียน หน่วยเรื่อง กะหล่ำปลี





แผนพับสายสัมพันธ์บ้าน - โรงเรียน ผลงานของเพื่อนๆ  










คำถามที่ควรใช้ในการถามเด็ก 


Example  

คำถามให้สังเกต  
- ลักษณะของกะหล่ำปลีเป็นอย่างไร
- ถ้าเราไม่ดูแลกะหล่ำปลีจะเป็นอย่างไร

คำถามทบทวนความจำ 
- กะหล่ำปลีที่เด็กๆรู้จักมีอะไรบ้าง
- ส้มที่เด็กๆรู้จักมีอะไรบ้าง
- ในเพลงมีกบชนิดใดบ้าง

คำถามบอกความหมาย 
- บอกแนวคิด
- บอกนิยาม
- บอกคำจำกัดความ

คำถามอธิบาย  
- ทำไมผี้เสื้อถึงมีปี
- ทำไมกบชอบอยู่ในน้ำ
- ดอกมะลิมีกลิ่นหอมไว้ทำไม

คำถามให้ยกตัวอย่าง 
- ส้มที่เด็กๆชอบมีส้มอะไรบ้าง
- ผีเสื้ออาศัยอยู่ที่ไหน

คำถามจำแนกประเภท  
- ภาพที่เด็กๆเห็นอยู่คือ ส้มเขียวหวาน
- ภาพที่เด็กๆเห็นอยู่คือ กะหล่ำปลีเขียว
- ภาพที่เด็กๆเห็นอยู่คือ ดอกมะลิซ้อน

คำถามเปรียบเทียบ  
- กล้วยไข่กับกล้วยหอม กล้วยชนิดไหนใหญ่กว่ากัน
- ผีเสื้อกับนก อะไรบินสูงกว่ากัน
- กะหล่ำปลีเขียวกับกะหล่ำปลีม่วง อะไรสีสวยกว่ากัน

การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปเป็นแนวทางในการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปกครองกับครูได้ เพราะการที่เราจะไปสอนเด็กปฐมวัย เราต้องมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมต่างๆบางครั้งเราก็ต้องขอความร่วมมือกับผู้ปกครอง กิจกรรมนั้นๆจึงจะสำเร็จไปด้วยกัน ในการเรียนวันนี้ทำให้ดิฉันมีความเข้าใจในการเขียนแผนพับสายสัมพันธ์บ้าน - โรงเรียนมากขึ้น

ประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนและร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆได้เป็นอย่างดี ช่วยกันคิดและแสดงความคิดเห็น งานออกมาจึงสำเร็จไปด้วยดี แต่อากาศในห้องเรียนหนาวไปหน่อย 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนในแต่ละกลุ่มตั้งใจทำกิจกรรมมาก เพื่อให้ผลงานออกมาดี มีการแสดงความคิดเห็นภายในกลุ่มและนอกกลุ่ม เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ต่างๆ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ยกตัวอย่างการทำแผนพับได้ดี และสามารถเป็นที่ปรึกษาในเรื่องการเรียนต่างๆได้เป็นอย่างดี สรุปและมีข้อเสนอแนะหรือเทคนิคต่างๆให้กับนักศึกษาไปใช้ ได้เป็นอย่างดี ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้น

           


วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Lesson 14


Recent Posts
Science Experiences Management for Early Childhood
21 November 2014
Time:13.00-16.40 pm.


Knowlegs
ในชั่วโมงเรียนวันนี้มีการส่งสิ่งประดิษฐ์อีกครั้ง เพื่อจัดหมวดหมู่ประเภทของสิ่งประดิษฐ์


ประเภทพลังงาน   



ประเภทแรงโน้มถ่วง 



ประเภทเสียง  



ประเภทน้ำ  



ประเภทลม




การทำ Cooking วาฟเฟิล Weffles


ส่วนผสมการทำวาฟเฟิล




อุปกรณ์ในการทำวาฟเฟิล



อาจารย์สาธิตการผสมแป้ง



อาจารย์สาธิตการปิ้งวาฟเฟิล



แบ่งกลุ่มการทำวาฟเฟิล



การทำขนมวาฟเฟิล 



ขนมวาฟเฟิลแสนอร่อย



Research
1.ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย

เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกต อันเป็นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยให้แก่ครูและผู้เกียวข้อง  นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางของครูในการพัฒนาการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาไปอย่างมีประสิทธิภาพ

                                                           ดูเพิ่มเติม   

2.ความสามรถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

ความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อศึกษา
1.ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม กระบวนการวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
2.เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน

3.การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มน้ำสมุนไพร

เปิดโอกาสให้เด็กได้รู้จักประสบการณ์ตรง โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในขณะที่ทำกิจกรรมเด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาหารและเรียนรู้การเปรียบเทียบ ได้เรียนรู้กระบวนการทำงาน ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆจนสามารถนำไปพัฒนาความคิดและสื่อความหมายได้

4.ทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทดลองหลังการฟังนิทาน

ความมุ่งหมายของการวิจัย
1.เพื่อเปรียบเทียบทักษะื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทดลองหลังการฟังนิทานก่อนและหลัง
2.เพื่อศึกษาทักษะการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทดลองการฟังนิทานก่อนและหลังทดลอง



โทรทัศน์ครู  

สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์



การที่เราจะเป็นนักวิทยาศาสตร์นั้่น อันดับแรกต้องเป็นคนที่ทันสมัย ทันยุคปัจจุบัน ทันเหตุการณ์ ทันโลก ครูเป็นผู้ให้ความรู้และสอนเหตุและผล เป็นคนเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น ลงมือกระทำด้วยตนเอง ครูแค่เป็นผู้คอยดูแลและจัดเตรียมความสะดวกให้พร้อม


การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
 สามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อย่างเช่นที่ได้เรียนไปในวันนี้ เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์อีกมากมายและจะให้เด็กเป็นผู้ที่ลงมือกระทำด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การคิดวิเคราะห์และการสำรวจ โดยผ่านประสาทสัมผัสที่ง 5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นแนวทางในการเรียนการสอนในอนาคตเป็นอย่างมาก


ประเมินผล
ประเมินตนเอง : วันนี้ตั้งใจเรียนและจดบันทึกในสิ่งที่อาจารย์สอนและตั้งใจฟังเพื่อนๆที่ออกไปนำเสนอวิจัยและบทความทางโทรทัศน์ครู พร้อมทั้งสรุปใจความสำคัญและจดบันทึกลงในสมุด ในการทำอาหารในวันนี้ คือ การทำ วาฟเฟิล ซึ่งดิฉันเคยคิดว่า วิธีการทำมันยาก แต่เมื่อได้ลองทำแล้ว วิธีการทำไม่มันยากอย่างที่คิดแต่กับสุกสนานมากขึ้น ทำให้รู้ขั้นตอนการทำวาฟเฟิล ขอบพระคุณอาจารย์ที่สอนประสบการณ์ดีๆให้กับพวกหนู

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจออกไปนำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครูเป็นอย่างดี ทุกคนเตรียมความพร้อมที่จะออกไปนำเสนอและตอบคำถามจากอาจารย์และเพื่อนๆทุกคน บางคนก็ออกอาการตื่นเต้นเล็กน้อยแต่ก็ผ่านไปด้วยดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนสนุกและมอบความรู้ให้แก่นักศึกษาทุกคนอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งเทคนิคต่างๆดีๆเพื่อให้นักศึกษาจดจำและนำไปใช้ในการเรียนการสอน พร้อมทั้งยกตัวอย่างทั้งงานวิจัยและโทรทัศน์ครู รวมถึงการสรุปในท้ายชั่วโมง