วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Lesson 11

Recent Posts

Science Experiences Management for Early Childhood

24 October 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.


knowledge


ในชั่วโมงอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนที่เตรียมการประดิษฐ์สื่อทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้ออกมานำเสนอถึงวิธีการทำ  อุปกรณ์ และวิธีการเล่น ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กจะได้รับ
ซึ่งดิฉันได้นำเสนอสื่อดังนี้คะ

ชื่อสื่อประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ : ตุ๊กตาล้มลุก



วิธีการเล่น : ใช้มือเขี่ยข้างใดข้างหนึ่งของตุ๊กตา สิ่งที่ปรากฎ คือ ตุ๊กตาจะโยกเยกไปมา โดนที่ไม่ล้ม
ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ : ตุ๊กตาล้มลุกมีตำแหน่งจุดศูนย์ถ่วงต่ำ การโยกเยกของตุ๊กตาจึงไม่ล้มและกลับมาตั้งได้เหมือนเดิม



Activities media presentations















ความรู้ทางวิชาวิทยาศาสตร์ The science

พลังงานศักย์ : พลังงานกลในตัววัตถุที่สัมพันธ์กับตำแหน่งที่อยู่ของมัน หรือคือพลังงานในวัตถุที่มีแรงต่อต้านเมื่อมันถูกแรงภายนอกมากระทำให้ขนาดหรือปริมาตรหรือตำแหน่งของมันไม่เป็นไปอย่างอิสระ

พลังงานจลน์ : พลังงานที่มีอยู่แล้วในวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ล้วนมีพลังงานจลน์ทั้งสิ้น ปริมาณในพลังงานจลน์ในวัตถุจะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู้กับมวลของวัตถุและความเร็วของวัตถุนั้นๆ

การหมุน : การเคลื่อนที่แบบวงกลมของวัตถุที่ประกอบด้วยหลายอนุภาค หรืออาจเรียกง่าย ๆ ว่า การหมุนของวัตถุ เช่น การหมุนของลูกข่าง การหมุนของพัดลมเพดาน เป็นต้น วัตถุที่มีรูปร่างแน่นอนสมบูรณ์ โดยไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่างและขนาด

แรงและการเคลื่อนที่ :  ทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่เปลี่ยนขนาดและรูปร่างของวัตถุได้ ผลของแรง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวัตถุที่ถูกกระทำดังต่อไปนี้  เช่น วัตถุที่อยู่นิ่งเกิดการเคลื่อนที่ วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ มีความเร็วเพิ่มขึ้นหรือลดลง หรือเปลี่ยนทิศทาง หรือทำให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่างอาจเห็นชัดเจน หรือไม่ชัดเจน 

แรงดัน : สิ่งที่ทำให้วัตุเคลื่อนที่ได้ หรือ หยุดนิ่ง หรือเปลี่ยนแปลงตามสภาพไป

อากาศ : ส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ

แรงลม : อากาศที่เคลื่อนที่ในทิศทางและแนวราบ

แรงเสียดทาน : แรงซึ่งต่อต้านการเคลื่อนที่ของผิวหน้าหนึ่งบนอีกผิวหน้าหนึ่ง 

แรงโน้มถ่วง : เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งทำให้วัตถุกายภาพทั้งหมดดึงดูดเข้าหากัน ความโน้มถ่วงทำให้วัตถุกายภาพมีน้ำหนักและทำให้วัตถุตกสู่พื้นเมื่อปล่อย

การนำไปประยุกต์ใช้

- สามารถนำสื่อทางวิทยาศาสตร์ที่เพื่อนออกมานำเสนอไปสอนและจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้ อาจจะประยุกต์เทคนิคการเล่นใหม่ๆให้เด็กได้เรียนรู้
-เทคนิคที่อาจารย์สอนนั้น สามารถนำไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้ เพื่อที่การเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมต่างๆเป็นไปอย่างสมบูรณ์และเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

ประเมินผล

ประเมินตนเอง : วันนี้มีความตั้งใจในการเรียนมาก และสนุกกับการเรียนในครั้งนี้ เพราะมีการนำเสนอสื่อทางวิทยาศาสตร์ที่หลากหลาย และวิธีการเล่นที่ไม่เหมือนใคร ทำให้ดิฉันประทับใจมาก มาเรียนตรงเวลาและแต่งกายสุภาพเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนๆกระตือรือร้นที่จะนำเสนอสื่อทางวิทยาศาสตร์มาก เพราะกลัวนำเสนอไม่ผ่าน เพื่อนนำเสนองานได้สนุกสนาน บางคนเคร่งเครียดกับการนำเสนอมาก ตื่นเต้น แต่บางคนมีความมั่นใจในการนำเสนอมาก ผลงานของเพื่อนทุกคนทำได้ดีมาก มีความสวยงาม

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ยิ้มแย้มแจ่มใส ตั้งใจฟังนักศึกษานำเสนอสื่อทางวิทยาศาสตร์ และบอกเทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆที่นักศึกษายังขาดตกบกพร่องอยู่ เพื่อที่จะให้นักศึกษานำกลับไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาจารย์สอนได้สนุกสนาน มีการร้องเพลงและยกตัวอย่างได้ดี



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น