วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Media Sciences

Media Sciences


ชื่อกิจกรรม (Name) : ตุ๊กตาล้มลุก

อุปกรณ์ (Equipment) 



1. แกนทิชชู
2.จานกระดาษ หรือ กระดาษสีแบบแข็ง
3. กรรไกร
4. กาว




วิธีทำ (Steps) 


1. เจาะรูจานตรงกลางให้พอดีกับแกนทิชชู


2. นำแกนทิชชูใส่ลงไปในรูประมาณครึ่งหนึ่ง แล้วพับจานให้เป็น ดังรูป




  
3. นำกระดาษสีมาทำกรวย แล้วทากาวติดไปตรงส่วนบนของแกนทิชชู เพื่อทำเป็นหัวตุ๊กตา




4. ระบายสีตกแต่งให้สวยงามตามที่ต้องการ




สิ่งที่ได้จากการทำและเล่นตุ๊กตาล้มลุก : ในขณะที่เล่นตุ๊กตาล้มลุกจะสังเกตเห็นได้ว่า ถ้าเราสัมผัสตุ๊กตาเบาๆ ตุ๊กตาก็จะโยกเยกไปมาเบาๆ แต่ถ้าเราสัมผัสตุ๊กตาแรงๆ ตุ๊กตาก็จะโยกเยกไปมาแบบแรงๆโดยที่ไม่ล้ม แต่ถ้าเราสัมผัสตุ๊กตาแรงเกินไปจะทำให้ตุ๊กตาล้มและพังได้ สาเหตุที่ทำให้ตุ๊กตาไม่ล้มคือ เพราะมีแรงถ้วงอยู่ตรงกลางของตุ๊กตา
สามารถนำมาจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ได้ และให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง เด็กจะเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายในการลงมือกระทำด้วยตนเอง มันไม่ยากอย่างที่คิด 




Lesson 10

Recent Posts

Science Experiences Management for Early Childhood

18 October 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.

หมายเหตุ : เรียนชดเชย

ความรู้ที่ได้รับ






อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยว่า ในการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ควรจัดกิจกรรมอย่างไรให้ตรงกับหัวข้อที่เราจะสอนให้แก่เด็กปฐมวัย
กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม
1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2.กิจกรรมกลางแจ้ง
3.กิจกรรมเสรี
4.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
5.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
6.เกมการศึกษา


การนำไปประยุกต์ใช้

- สามารนำหน่วยการเรียนรู้ของเพื่อนๆ เช่น ไก่ กบ ส้ม ปลา ผีเสื้อ เป็นต้น ไปใช้ในการจัดกิจกรรมได้ในอนาคต
- สามารถนำเพลง คำคล้องจองที่อาจารย์สอนไปใช้ในการเก็บเด็กในชั้นเรียนได้
ก่อนที่จะเขียนแผนการจัดประสบการณ์ เราต้องศึกษาเรื่องที่เราจะสอนให้เข้าใจเสียก่อน เพื่อที่จะได้นำความรู้ที่ถูกต้องไปใช้ในการสอนเด็ก



การประเมิน

ประเมินตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายและตั้งใจร่วมทำกิจกรรมการเขียนแผนการจัดประสบการณ์กับเพื่อนๆได้ดี ช่วยกันระดมความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่จะจัดกิจกรรมให้กับเด็ก

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจทำงานกลุ่มของตัวเองอย่างเต็มที่ และตั้งใจฟังอาจารย์บอกข้อเสนอชี้แนะในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีความตั้งใจที่จะสอนนักศึกษา บอกเทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย เพื่อที่จะได้นำไปใช้ในการฝึกสอนและการสแนในอนาคตได้เป็นอย่างดี ทำให้รู้เทคนิคต่างๆมากมาย



วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Lesson 9

Recent Posts

Science Experiences Management for Early Childhood

17 October 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.



ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์สอน การเขียนแผนประสบการณ์ ของวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้
การเลือกหัวข้อเรื่อง : ควรเลือกบริบทและสภาพแวดล้อมหรือเป็นเรื่องใกล้ตัว
ความสัมพันธ์ 2 แกน : เกมเมตริก
เคลื่อนไหว : ร้องเพลง
ศิลปะ : ประดิษฐ์ วาดภาพ
เสริมประสบการณ์ : เล่านิทาน
กิจกรรมกลางแจ้ง - กิจกรรมเสรี : การปลูกกะหล่ำปลี

ประสบการณ์ คือ การแสดงความรู้
ด้านสติปัญญา : การคิดเชิงเหตุผล
วิทยาศาสตร์ : การทดลอง การสังเกต การคิดวิเคราะห์ 
คณิตศาสตร์ : การนับจำนวน เลขอารบิก เลขไทย การชั่ง การตวง 
ภาษา : กระบวนการคิด



วิธีในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ขั้นนำ 
- อาจจะใช้กิจกรรมในการกระตุ้นให้เด็กสนใจที่อยากเรียนในสิ่งที่ครูสอน เช่น การนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการร้องเพลง ภาพตัดต่อ เกม นิทาน เป็นต้น

ขั้นสอน 
- ใช้คำถามกับเด็ก เพื่อให้เด็กเกิดความจำ และมีการคิดวิเคราะห์ในคำถามนั้นๆ คำถามควรเป็นคำถามที่เป็นปลายเปิด (อย่างไร เมื่อไหร่ )ไม่ควรเป็นคำถามที่เป็นปลายปิด (ใช่หรือไม่) และจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับหัวข้อที่จะสอนเด็ก

ขั้นสรุป
- เป็นการทบทวนความรู้ที่เด็กได้เรียนมาแล้วด้วยการ ถามคำถามจากสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ เพื่อเป็นการทบทวนความรู้และความจำ

การวัดและการประเมินผล : ใช้แบบสังเกต คำตอบ ผลงาน ระหว่างทำกิจกรรม ว่าตรงตามวัตถุประสงค์ที่เราตั้งไว้หรือไม่




ประยุกต์ใช้ได้อย่างไร
- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของแต่ละวิชาได้ เพื่อให้เด็กได้ทำกิจกรรมตรงตามวัตถุประสงค์ที่เราตั้งไว้
- สามารถนำแนวทางการเขียนแผนไปปรับใช้ในรายวิชาอื่นๆได้ เช่น การเคลื่อนไหว กิจกรรมกลางแจ้ง ศิลปะสร้างสรรค์
- ทำให้เข้าใจวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิชา วิทยาศาสตร์มากขึ้น


 


การประเมิน
ประเมินตนเอง : ฟังอาจารย์อธิบายวิธีการเขียนแผนได้เป็นอย่างดี ทำให้เข้าใจในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์มากขึ้น มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมเป็นกลุ่มอย่างเต็มที่

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์วิชาวิทยาศาสตร์ได้ดี ทำให้เข้าใจในแต่ละหัวข้อได้ดีขึ้น


Lesson 8

Recent Posts

Science Experiences Management for Early Childhood

10 October 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.


Today there is not teaching of Midterms.


Lesson 7


Recent Posts

Science Experiences Management for Early Childhood

3 October 2014
Time 13:00 to 16:40 pm.


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์

อุปกรณ์
1.แกนทิชชู ตัดครึ่งกึ่งกลาง
2.ไหมพรม
3.สีเมจิก
4.กระดาษ

วิธีทำ
1.ตัดแกนทิชชูออกเป็น 2 ส่วน


2.นำแกนทิชชูมาเจาะรูด้านข้าง 2 รู ด้วยที่เจาะกระดาษ


3.นำไหมพรม ความยาว 1 ช่วงแขนมาร้อยใส่ลงไปในรูของแกนทิชชูทั้ง 2 รู


4.นำกระดาษมาแบ่งออก 1 แผ่น แบ่งได้ 8 ส่วน แล้ววาดเป็นวงกลม 1 วง 

5.วาดสัตว์ที่ชอบลงไป 1 ภาพในวงกลม ระบายสีให้สวยงาม แล้วตัดให้เป็นวงกลม

6.นำภาพที่วาดติดลงไปในแกนทิชชู ด้านขวาง



วิธีการเล่น
-นำไปคล้องคอแล้วใช้มือทั้งสองข้าง ชักขึ้น-ลง เพื่อให้รูปสัตว์เคลื่อนไหวขึ้น-ลงได้
จากการสังเกตพบว่า เมื่อชักเชือกขึ้น-ลงๆโดยที่ไม่ก้างไหมพรมออก ภาพสัตว์ก็จะไม่ขึ้นสุดไปถึงคอ แต่เมื่อเราก้างไหมพรมออกแล้วชักขึ้น-ลง ปรากฎว่า ภาพสัตว์สามารถเลื่อนขึ้น-ลงได้



การนำเสนอบทความ
เรื่องที่ 1 การพัฒนาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย อ้างอิง
 การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย สามารถส่งเสริมได้หลายวิธี และวิธีหนึ่งที่สามารถส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้คือ การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งเป็นหนึ่งกิจกรรมที่เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เด็กได้เรียยนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการสังเกต การทดลอง การดมกลิ่น ชิมรสอาหาร ในขณะที่ดำเนินกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร 

เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาหาร ได้เรียนรู้การเปรียบเทียบ การชั่ง การตวง การวัดสิ่งต่างๆด้วยตนเอง และได้เรียนรู้กระบวนการทำงาน ตั้งแต่การวางแผนไปจนถึงการทำความสะอาดอุปกรณืและสถานที่ในการทำ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าในในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ จนสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความคิดและการสื่อความหมาย โดยครูมีบทบาทในการจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในการเรียนรู้ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และใช้คำถามเชิงเปรียบเทียบเพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ การสังเกต การจำแนก การวัดและการสื่อความหมายข้อมูล


เรื่องที่ 2 สอนลูกเรื่องแสงและเงา (Teaching Children about Light and Shadow) อ้างอิง


การสอนลูกเรื่องแสงและเงา (Teaching Children about Light and Shadow) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ
แสง ซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตรับรู้ได้ด้วยตา เป็นเหตุให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้และเงา ซึ่งหมายถึง รูปร่างของวัตถุที่แสงผ่านทะลุไม่ได้ ทำให้แลเห็นเป็นเงาตามรูปร่างของวัตถุนั้น
เด็กจะได้เรียนรู้ถึงแหล่งกำเนิดแสง หรือสิ่งที่ปล่อยแสงออกมา ได้แก่ดวงอาทิตย์ ที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด
สัตว์และพืชบางชนิดมีแสง
การเผาไหม้ของวัตถุบางชนิด เช่น พืช แก๊ส เทียนไข น้ำมัน ฯลฯ ทำให้เกิดแสง
แสงบางชนิดมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น เช่น แสงไฟฟ้า ไฟฉาย กล้องถ่ายรูป ฯลฯ

แสงจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว แสงจากพืชและสัตว์บางชนิด และแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆที่คนเราทำขึ้น เช่น จากการจุดไฟ เปิดไฟฟ้า เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกและจักรวาล และเป็นประโยชน์ที่ทำให้คนเราดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะมีแสงสว่างช่วยให้คนเรามองเห็น และแสงทำให้เกิดเงา ร่มเงาก็เป็นประโยชน์สำหรับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย ได้อาศัยคลายร้อน ในขณะเดียวกัน หากไม่รู้ถึงโทษของสิ่งเหลานี้ ก็จะทำให้เกิดอันตรายจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การที่เด็กๆเพ่งมองดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงแรงจ้า ก็จะเป็นอันตรายแก่สายตา หรือการที่ปล่อยให้แสงแดดแผดเผาผิวกาย ก็เป็นอันตรายต่อผิวหนังคือ เกิดแผลไหม้เกรียม แสงอาจเกิดจากการเผาไหม้ของวัตถุเช่น เทียน แก๊ส น้ำมัน พืช แสงเหล่านี้อาจเกิดการเผาไหม้เองตามธรรมชาติ และเกิดจากมนุษย์ทำให้เกิด เมื่อเกิดแล้ว จะทำให้มลภาวะเป็นพิษในโลกนี้ ดังนั้น ธรรมชาติเรื่องแสงและเงาเป็นเรื่องใกล้ตัว อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา จึงควรได้จัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย


เรื่องที่ 3 การสอนเรื่องแรงโน้มถ่วง (Teaching Children about Gravity) อ้างอิง


การสอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง (Teaching Children about Gravity) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น ดึงวัตถุในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึดติดกับพื้นโลก มิให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผิวโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศได้ ทั้งนี้ เด็กปฐมวัยมีนิสัยสงสัยใคร่รู้เป็นโดยธรรมชาติ การที่เด็กมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว และเกิดเรื่องราวให้ชวนคิด ชวนให้สงสัยมีมากมาย รวมทั้งคำถามว่า “อะไรที่ทำให้เรายืนอยู่บนพื้นโลกได้โดยไม่ปลิวหายไปในอากาศ” และ “มีใครบ้างที่อยู่ใต้พื้นโลก เขาหล่นหายไปหรือไม่” คำถามของเด็กมีคำ ตอบ แต่หากผู้ใหญ่บอกเล่าเพียงให้เด็กทราบว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีแรงโน้มถ่วง การบอกเช่นนั้นไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะเด็กบอกไม่เห็นแรงโน้มถ่วง แต่หากเด็กได้มีโอกาสตรวจสอบเรื่องนี้จากกิจกรรมง่ายๆ ที่ครูหรือพ่อแม่จัดให้เด็กได้กระทำ จนเกิดเป็นความเข้าใจในเหตุและเห็นผลสอดคล้องกัน จะเป็นการส่งเสริมความคิด ทัศนคติที่ดีและเกิดทักษะที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ต่อๆไปอีกให้แก่เด็ก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กเรื่องแรงโน้มถ่วงจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้


เรื่องที่ 4 การสอนลูกเรื่องไฟฉาย (Teaching Children about Flashlight) อ้างอิง



  • การสอนลูกเรื่องไฟฉาย(Teaching Children about Flashlight) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เครื่องทำความสว่างประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญคือ จานฉายรูปโค้งสำหรับสะท้อนแสงและหลอดไฟฟ้า ซึ่งบรรจุอยู่ในเรือนกรอบกับสิ่งให้พลังงานที่ก่อให้เกิดแสงสว่าง และหลอดไฟซึ่งบรรจุอยู่ในกรอบกับสิ่งให้พลังงานก่อให้เกิดแสงสว่าง มีหลายชนิด ชนิดที่ถือติดตัวไปมาได้มักทำในรูปกระบอก ทั้งนี้เพราะการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นเรื่องจำเป็นในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ กล่าวคือเป็นผู้ที่พัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญาได้อย่างเหมาะสมตามวัย ในยุคปัจจุบันสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาการด้านเทคโนโลยี มีผลให้เกิดมีเครื่องใช้ที่จำเป็นและอำนวยความสะดวกสบายให้คนเรา ดังนั้น การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และวิธีใช้เครื่องเทคโนโลยีบางชนิดให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องจำเป็น ดังเช่น ไฟฉาย ที่คนเราสร้างสรรค์ขึ้น มา เป็นเครื่องใช้ที่ให้แสงสว่างซึ่งเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการนำเรื่องไฟฉายมาจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร





  • ประยุกต์ใช้ได้อย่างไร
  • - สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพื้นฐานทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้เป็นอย่างดี
  • -สามารถจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ และครูสาธิตให้เด็กได้ดู แล้วให้เด็กลองทำ
  • - สามารถนำความรู้ที่ได้ไปจัดเป็นประสบการณ์ให้เด็กได้ศึกษา ทดลองเล่น สังเกต เพื่อฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ได้อีกด้วย












ประเมินผล
ประเมินตนเอง : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ พร้อมฟังคำชี้แนะของอาจารย์เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข
ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือในกิจกรรมดี นำเสนอบทความด้วยเข้าใจ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนการทำสิ่งประดิษฐ์ที่ง่ายและเข้าใจง่าย เหมาะที่จะนำความรู้ที่ได้จากสิ่งประดิษฐ์ไปใช้ในการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยได้